ข้อมูลวิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง
1. วิสัยทัศน์ พันธกิจ และปรัชาญาของวิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง
พันธกิจ
วิสัยทัศน์มุ่งเน้น ผลิตกำลังคนให้มีสมรรถนะอาชีพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ก้าวทันเทคโนโลยี มีคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพ
1. มุ่งเน้น ผลิตกำลังคนให้มีสมรรถนะอาชีพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
2. พัฒนาผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรม สอดล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา
4. ส่งเสริมการปฎิบัตงานโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของสถานศึกษา
“เชิดชูคุณธรรม นำวิชา พัฒนาสังคม”
อัตลักษณ์
“จิตอาสา พัฒนาตน”
เอกลักษณ์
“พัฒนาคน นำวิชาชีพสู่สังคม”
คุณธรรมอัตลักษณ์
“ความรับผิดชอบ”
2. กลยุทธ์ในการพัฒนาของสถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 1
ด้านผลการจัดการศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ตามอัตลักษณ์ของสถานศึกษาคุณธรรม มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของหลักสูตรในแต่ละระดับและแต่ละสาขาวิชา สาขางาน เป็นที่พึงพอใจของตลาดแรงงาน และมีสัดส่วนผู้สำเร็จการศึกษาเทียบกับผู้เรียนแรกเข้าตามเกณฑ์ที่กำหนด
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของสถานศึกษา
1.1 ระดับความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา
1.2 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาเทียบกับจำนวนผู้เข้าเรียน
กลยุทธ์ที่ 2
ด้านการบริหารจัดการศึกษา สถานศึกษามีการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางสถานศึกษาคุณธรรม และนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีการบริหารจัดการทรัพยากรของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับบุคคล ชุมชน สมาคม ชมรม สถานประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนามาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของสถานศึกษา
2.1 ระดับคุณภาพในการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางสถานศึกษาคุณธรรม
2.2 ระดับคุณภาพในการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานต้นสังกัด
2.3 ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านบุคลากร
2.4 ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านการเงิน
2.5 ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่ ด้านครุภัณฑ์ และด้านฐานข้อมูลสารสนเทศ
2.6 ระดับคุณภาพในการประสานความร่วมมือเพื่อการบริหารจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 3
ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ ตามหลักสูตรและระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนของแต่ละหลักสูตร ส่งเสริม สนับสนุน กำ กับดูแลให้ครูจัดการเรียนการสอนรายวิชาให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ มีการพัฒนารายวิชา หรือกำหนดรายวิชาใหม่หรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงาน
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของสถานศึกษา
3.1 ระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา
3.2 ระดับคุณภาพในการพัฒนารายวิชาหรือกลุ่มวิชา
3.3 ระดับคุณภาพในการจัดการศึกษา
3.4 ระดับคุณภาพในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
กลยุทธ์ที่ 4
ด้านการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนามาตรฐานการศึกษาประกอบด้วยการประเมินคุณภาพภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของสถานศึกษา
4.1 ระดับคุณภาพในการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน
4.2 ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่มีการพัฒนา
กลยุทธ์ที่ 5
ด้านการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ชุมชน สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และมีการจัดทำแผนการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นประจำปี ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา มีการดำเนินงานตามแผน มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และเสนอข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพร้อมทั้งจัดทำรายงานตามแผนการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นประจำปี
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของสถานศึกษา
5.1 ระดับคุณภาพในการจัดทำแผนการบริหารจัดการการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
5.2 ระดับคุณภาพในการใช้และพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สถานประกอบการ
5.3 ระดับคุณภาพในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา
5.4 ระดับคุณภาพในการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
5.5 ระดับคุณภาพในการระดมทรัพยากรในการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
5.6 ร้อยละของครูผู้สอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นที่ได้รับการพัฒนา
5.7 ระดับคุณภาพในการบริหารการเงินและงบประมาณ
5.8 ร้อยละของผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นที่มีผลคะแนนการฝึกอบรม 2.00 ขึ้นไป
5.9 ร้อยละของผู้สำเร็จการฝึกอบรมตามหลักสูตรเทียบกับแรกเข้า
5.10 ระดับความพึงพอใจของผู้สำเร็จการฝึกอบรมที่มีต่อการนำความรู้ความสามารถไปใช้ประโยชน์
3. จุดเน้นในการพัฒนาสถานศึกษา และความโดดเด่น
จุดเน้นในการพัฒนาของสถานศึกษา
1. สถานศึกษาควรพัฒนาระบบดูแลผู้เรียนให้มีผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและผ่านการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษาให้มากขึ้น
2. การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินผลรายวิชาควรให้สอดคล้องกับผู้เรียนและสถานประกอบการ
3. การบริหารงบประมาณควรมีการจัดสรรให้เหมาะสมกับกิจกรรม โครงการและการประเมินควรประเมินให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
4. สร้างความตระหนักและความร่วมมือของบุคลากรภายในให้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานของทุกคน
ความโดดเด่นของสถานศึกษา (ผลงาน/รางวัล/เกียรติยศ/ชื่อเสียง)
1. กีฬามวยไทยสมัครเล่นได้รับเหรียญทองระดับชาติ ,ยุทธหัตถีเกม จังหวัดสุพรรณบุรี
2. กีฬามวยไทยสมัครเล่นได้รับเหรียญทองระดับภาค ,พระเจ้าเสือเกม จังหวัดพิจิตร
3. การประกวดและแข่งขันหุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรมได้รับรางวัลชมเชย ,ณ ศูนย์การค้าเชียร์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
4. รางวัลชมเชยสถานศึกษาพระราชทาน
4. ประวัติ ความเป็นมา และข้อมูลด้านอาคารสถานที่ วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง
ประวัติการก่อตั้งวิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง
วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง ประกาศจัดตั้ง เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2540 เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลที่จะขยาย โอกาสทางการศึกษา ในระดับอาชีวศึกษา ตามแผนอาชีวศึกษาระยะที่ 7 เพื่อยกระดับการศึกษา ของเยาวชนในท้องถิ่นให้สูงขึ้นและสามารถรองรับนักเรียน ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนต้นที่สนใจจะเรียนต่อทางด้านวิชาชีพ โดยเปิดการเรียนการสอน ดังนี้
ในปี พ.ศ. 2541 เปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างยนต์ และพณิชยการ
ในปี พ.ศ. 2543 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
ในปี พ.ศ. 2545 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
ในปี พ.ศ. 2545 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ และสาขาวิชาการบัญชี
ในปี พ.ศ. 2548 เปิดสอนระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในระดับ ปวช. และระดับ ปวส. สาขาวิชาช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า การบัญชี การตลาด คอมพิวเตอร์ คหกรรมบริการ และสาขาวิชาการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ
ในปี พ.ศ. 2550 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบทวิภาคี เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานเทคโนโลยีสำนักงาน
ในปี พ.ศ. 2551 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบทวิภาคี เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขางานการติดตั้งไฟฟ้า
ในปี พ.ศ. 2552 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบทวิภาคี เพิ่ม 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง มีเนื้อที่ 153 ไร่ 23 ตารางวา ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 239 หมู่ 3 (บ้านป่าป๋วย) ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51130 โทรศัพท์ 0-5398-0099 โทรสาร 0-5398-0909 Web site : www.Banhong.ac.th E-mail : Banhong_40@hotmail.com
โดยมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดถนนป่าป๋วย-หนองเขียด
ทิศใต้ ติดป่าสงวนแห่งชาติ
ทิศตะวันออก ติดที่ดินของเอกชน
ทิศตะวันตก ติดสำนักงานประปา อำเภอบ้านโฮ่ง และองค์การบริหารส่วน
ตำบลบ้านโฮ่ง
มีอาคารเรียน และอาคารประกอบการต่างๆ ดังนี้
บ้านพักครู 14 ยูนิต/ห้องประชุม จำนวน 1 ห้อง
โรงฝึกงานเทคนิคพื้นฐาน จำนวน 1 หลัง
อาคารกิจการ จำนวน 1 หลัง
โรงอาหารและหอประชุม จำนวน 1 หลัง
ห้องน้ำห้องส้วม จำนวน 1 หลัง
บ้านพักผู้อำนวยการ จำนวน 1 หลัง
บ้านพัก 4 ยูนิต จำนวน 1 หลัง
อาคารเรียนและปฏิบัติการ 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง
อาคารโรงฝึกงาน 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง
โรงฝึกงานแบบจั่วคู่ จำนวน 1 หลัง
อาคารโรงจอดรถ จำนวน 1 หลัง
อาคารวิทยบริการ จำนวน 1 หลัง
อาคารเรียน 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง
